คดีฟ้องหย่ามีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

คดีฟ้องหย่ามีขั้นตอนอย่างไรบ้าง , ฟ้องหย่าที่ไหน , เมื่อหย่าแล้วทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสจะแบ่งกันอย่างไร , เมื่อหย่าแล้วบุตรผู้เยาว์จะอยู่กับใคร ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์ใครรับผิดชอบ , ค่าใช้จ่ายในการฟ้องหย่าเท่าไหร่ ทนายภานุรุจมีคำตอบให้ครับแบบเข้าใจง่ายๆ  

             คดีฟ้องหย่า หากคู่สมรสไม่ว่าฝ่ายชายหรือฝ่ายหญิง เมื่ออยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาแล้ว หากต่อมาภายหลังมีเหตุที่จะต้องหย่าขาดจากกันตามกฎหมายเพราะไม่ประสงค์จะอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยากันต่อไปแล้ว หรือเพราะเหตุใดก็ตาม หากคู่สมรสทั้งสองฝ่ายตกลงหย่ากันได้ดีด้วยและตกลงเรื่องอื่นที่เกี่ยวข้องกัน เช่น ทรัพย์สิน หนี้สิน หรือ อำนาจปกครองบุตร กันได้คู่สมรสทั้งสองฝ่ายก็สามารถที่จะไปจดทะเบียนหย่ากันที่สำนักงานเขตใดก็ได้ หรือ อำเภอใดก็ได้เพียงนำข้อตกลงแนบท้ายการจดทะเบียนการหย่าไปจดแจ้งกับเจ้าหน้าที่สำนักงานเขต หรือ อำเภอ (ในส่วนข้อตกลงแนบท้ายทะเบียนการหย่านั้นในเรื่องทรัพย์สิน หนี้สิน หรือ อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์ หากมี ส่วนใหญ่จะนิยมให้ทนายความเป็นผู้ร่างข้อตกลงดังกล่าวให้เพื่อความสะดวกจะได้มีสภาพบังคับตามกฎหมาย ไม่บกพร่อง หรือผิดพลาดและเป็นไปตามความประสงค์ของคู่สมรสทั้งสองฝ่าย)

          แต่หากคู่สมรสฝ่ายหนึ่งประสงค์ที่จะจดทะเบียนหย่าแต่คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งไม่ยอมหย่าด้วยแล้ว ก็มีความจำเป็นที่จะต้องใช้สิทธิฟ้องเป็นคดีต่อศาลต่อไป แต่ประการแรก การที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะฟ้องหย่าได้ จะต้องมีเหตุหย่าตามที่กฎหมายกำหนด ตามประมวลกฎหมายหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1516 หรือ ได้ทำสัญญาหย่าโดยความยินยอมไว้แล้ว เมื่อถึงกำหนดเวลาคู่สมรสอีกฝ่ายไม่ยอมไปจดทะเบียนหย่า ก็สามารถฟ้องหย่าเป็นคดีต่อศาลได้โดยไม่ต้องพิจารณาถึงเหตุหย่าตามประมวลกฎหมายหมายแพ่งแลพาณิชย์มาตรา 1516 ว่าจะมีหรือไม่ แต่หากไม่มีสัญญาหย่าโดยความยินยอมที่ได้ทำไว้ก่อนดังกล่าวแล้ว หากคู่สมรสต้องการที่จะจดทะเบียนหย่าก็ต้องมีเหตุหย่ากันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1516 เช่น คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกิน 1 ปี หรือ คู่สมรสทั้งสองฝ่ายตกลงเลิกรากันและแยกกันอยู่คนที่ไม่น้อยกว่า 3 ปี แล้ว หรือคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง เช่น เสพยาเสพติด ค้ายาเสพติด หรือคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีชู้หรือไปเป็นชู้กับบุคคลอื่น หรือความผิดอื่นๆ หรือคู่สมรสถูกคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งทำร้ายร่างกาย หรือ คู่สมรสถูกเหยียดหยามหรือหมิ่นประมาทบุพการีของอีกฝ่าย หรือ คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถูกศาลพิพากษาให้ลงโทษจำคุกและถูกจำคุกมาเกิน 1 ปี โดยที่คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้มีส่วนกระทำความผิดด้วย หรือคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งไม่อุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งทำให้ได้รับความลำบากในการใช้ชีวิตและต้องถึงขนาดยากไร้จริงๆไม่สามราถดำรงชีพอยู่ได้ หรือ คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งวิกลจริตและไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้และทำให้ไม่สามารถจะทนอยู่ร่วมกันได้ หรือ คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นคนสาปสูญ หรือ คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทำผิดสัญญาทัณฑ์บนที่ได้ทำไว้เป็นหนังสือต่อกัน หรือ คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรงและไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้ หรือ คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ยอมร่วมประเวณีหลับนอนกับอีกฝ่ายหนึ่งอันถือเป็นการกระทำเป็นปฎิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากัน หรือ คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสภาพแห่งกายที่ทำให้คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งไม่สามารถร่วมประเวณีหรือหลับนอนกันได้ตลอดกาล ที่กล่าวมานั้นเป็นเหตุฟ้องหย่าตามกฎหมายทั้งสิ้น (เหตุหย่าที่กล่าวมาข้างต้นนั้นจะต้องไม่ได้เกิดคู่สมรสที่จะฟ้องหย่าเป็นคนทำผิด)

          เมื่อมีเหตุหย่าตามกฎหมายข้างต้นแล้ว ขั้นตอนการฟ้องหย่า คือ เตรียมเอกสารเพื่อให้กับทนายความ ดังต่อไปนี้

1.ใบสำคัญการสมรส 2.สำเนาทะเบียนบ้านและบัตรประชาชน 3.ใบเกิดลูก 4.ทะเบียนบ้านบุตรผู้เยาว์ หากมีการฟ้องแบ่งสินสมรสใช้หลักฐานในเรื่องทัพย์สิน เช่น โฉนดที่ดิน สัญญาซื้อขาย หรือ สัญญาจำนอง หรือ สมุดบัญชีธนาคาร หรือ รายการคู่มือจดทะเบียนรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์

        คดีฟ้องหย่าเป็นคดีครอบครัวและเป็นคดีแพ่งประเภทหนึ่งศาลที่จะยื่นฟ้องนั้นคือศาลเยาวชนและครอบครัว ซึ่งศาลเยาวชนและครอบครัวนั้นมีอยู่ทุกจังหวัด ส่วนในกรุงเทพฯจะมีสองที่ คือ ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง และศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง(สาขามีนบุรี) ซึ่งคดีฟ้องหย่าจะฟ้องต่อศาลเยาวและครอบครัวที่ไหนให้พิจารณาดังต่อไปนี้ 1. คู่สมรสทั้งสองฝ่ายได้อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาภูมิลำเนาสุดท้ายอยู่ที่ใดให้ฟ้องคดีต่อศาลเยาวชนและครอบครัวท้องที่นั้นได้  2.จำเลยหรือคู่สมรสอีกฝ่ายมีภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้านอยู่ที่ใด ให้ฟ้องที่ศาลเยาวชนและครอบครัวท้องที่นั้นได้ นอกจากสองประการนี้แล้วไม่สามารถฟ้องต่อศาลในท้องที่อื่นได้

              เมื่อฟ้องหย่าแล้ว หากคู่สมรสทั้งสองฝ่ายมีสินสมรสร่วมกัน สินสมรสคือทรัพย์สินที่คู่สมรสฝ่ายใดได้มาหลังจากจากจดทะเบียนสมรสกัน ถือเป็นสินสมรสทั้งสิ้นในเบื้องต้น กฎหมายไม่สนใจว่าคู่สมรสฝ่ายใดจะเป็นผู้กระทำความผิดอันเป็นเหตุให้เกิดการฟ้องหย่า แต่หากเมื่อมีการฟ้องหย่าต่อศาลแล้วทรัพย์สินที่คู่สมรสทั้งสองฝ่ายมีร่วมกันที่ถือเป็นสินสมรส จะต้องแบ่งกันคนละครึ่งเท่าๆกัน หากไม่สามารถตกลงแบ่งกันได้ ก็ให้เอาทรัพย์สินดังกล่าวออกขายแล้วแบ่งเงินกันกันคนละครึ่งเท่าๆกัน

              เมื่อคู่สมรสทั้งสองฝ่ายมีเหตุที่จะต้องฟ้องหย่าต่อกันแล้ว หากมีบุตรผู้เยาว์ด้วยกัน อำนาจปกครองบุตรนั้นโดยหลักคู่สมรสทั้งสองฝ่ายมีอำนาจปกครองร่วมกัน ส่วนในรายละเอียดนั้นศาลจะเป็นผู้พิจารณาตัดสินอีกทีว่าการเลี้ยงดูบุตรดังกล่าวจะเป็นอย่างไร คู่สมรสแต่ละฝ่ายจะรับผิดชอบค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรผู้เยาว์คนละเท่าไหร่

               ในส่วนสุดท้ายนี้ ทนายภานุรุจขออธิบายว่าคดีฟ้องหย่านั้นมีค่าใช้จ่ายเท่าไหร่นั้น คู่สมรสที่จะฟ้องหย่านั้นจะต้องโทรศัพท์มาสอบถามกับทนายความเพื่อเล่าข้อเท็จจริงคร่าวๆ ให้ทนายฟังเช่น เหตุฟ้องหย่าคืออะไร มีบุตรร่วมกันหรือไม่ มีทรัพย์สินร่วมกันหรือไม่ เพื่อที่ทนายความจะได้ประเมินค่าใช้จ่ายในการทำคดีจนจบคดีในศาลชั้นต้นให้ทราบ ทนายแต่ละคนจะคิดว่าวิชาชีพไม่เท่ากัน ท่านคุยกับทนายคนไหนที่ท่านคิดว่าอธิบายให้ท่านเข้าใจได้ หากท่านมีความมั่นใจท่านก็สามารถว่าจ้างทนายคนนั้นได้

              หากท่านประสงค์จะฟ้องหย่า หรือ ถูกฟ้องหย่า ปรึกษาทนายคดีฟ้องหย่าครอบครัว สามารถติดต่อผมได้ทนายภานุรุจ เดชาธนโฆสิต ยินดีรับดูแลคดีให้ ติดต่อ โทร.086-359-7156 หรือ 095-942-3666 หรือ Line ID : 0863597156

 

 

            

แบบฟอร์มติดต่อกลับ

สำนักงานกฎหมายภานุรุจ ทนายความ
42 โชคชัย4 ซอย54 แยก4 ถนนโชคชัย4 แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กรุงเทพฯ
www.panurujlawyer.com
สายด่วนโทร.086-359-7156 , 095-942-3666
Line Id : 0863597156
Visitors: 181,611